คณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดชุมพร
วัดโพธิการาม  ตำบลนาทุ่ง  อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000
ประวัติกำเนิดคณะธรรมยุต

กําเนิดคณะธรรมยุต

      พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า คณะธรรมยุต นั้นคือ พระสงฆ์ที่ออกมา จากคณะสงฆ์เดิมของไทยนั่นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย อันเป็นผลเนื่องมาจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเมื่อยังทรงผนวชอยู่ ทรงศึกษาพระไตรปิฎก และทรง ปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยในครั้งนั้นให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยยิ่งขึ้น โดยทรงเริ่ม ปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระองค์ขึ้นก่อนเป็นประเดิม ตามความรู้ที่ได้ทรงศึกษามาจากพระไตรปิฎก ภายหลังจึงมีภิกษุอื่น ๆ เกิดความนิยมนับถือแล้วถวายตัวเป็นศิษย์ปฏิบัติตามแบบอย่างที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มปรับปรุงแก้ไขขึ้นนั้นทีละรูปสองรูปและเพิ่มจํานวนมากขึ้นเป็นลําดับ จนกลายเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง ที่ได้รับขนานนามว่า           
      คณะธรรมยุต หรือธรรมยุติกนิกายในภายหลังต่อมา การเกิดขึ้นของคณะธรรมยุต จึงเนื่องด้วยพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและค่อยเป็นมาโดยลําดับ ฉะนั้น ใน เบื้องต้นจึงควรทราบพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนพอเป็นสังเขป
 
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ทรงดํารงอยู่ในฐานะรัชทายาทตามโบราณราชประเพณี เพราะเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่
เมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ซึ่งทําเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร”
เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรม มหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็น พระอาจารย์ถวายศีล ประทับ ณ วัดมหาธาตุ เป็นเวลา ๗ เดือน จึงทรงลาผนวช
ถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามโบราณราชประเพณี โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุ ทรงทําอุปัชฌายวัตร
๓ วันแล้ว เสด็จไปจําพรรษา ณ วัดสมอราย เพื่อทรงศึกษา ย” วิปัสสนาธุระตามธรรมเนียมนิยมของเจ้านายผู้ทรงผนวชเพียงพรรษาเดียวในครั้งนั้น หลังจากทรงผนวช ได้เพียง ๑๕ วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถ ทรงพระประชวรเสด็จ สวรรคต จึงได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะดํารงสมณเพศศึกษาวิปัสสนาธุระที่ได้ทรงเริ่มศึกษามาแต่แรก ทรงผนวชแล้วให้ถ่องแท้ต่อไป ได้ทรงศึกษาอยู่ในสํานักอาจารย์ ณ วัดสมอรายนั้น และได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ วัดราชสิทธาราม อันเป็นสํานักวิปัสสนาที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งในยุคนั้น แต่ไม่ได้ประทับอยู่ประจํา
      คงเสด็จไปมาระหว่างวัดราชสิทธารามกับวัดสมอราย นอกจากนี้ยังได้เสด็จไปทรงศึกษากับอาจารย์ในสํานัก อื่น ๆ ที่ปรากฏว่ามีการเล่าเรียนวิปัสสนาธุระทั่วทุกแห่งในยุคนั้น แม้กระนั้นก็ยังไม่เต็มตามพระราชประสงค์ จึงทรงพระราชดําริที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมคือภาษามคธหรือภาษาบาลี เพื่อจะได้สามารถอ่านพระไตร ปิฎกได้ด้วยพระองค์เอง อันจะเป็นทางให้ทรงศึกษาหาความรู้ในพระปริยัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้โดยลําพังพระองค์ต่อไป
ด้วยพระราชปณิธานดังกล่าวแล้ว หลังออกพรรษา จึงเสด็จจากวัดสมอราย กลับมาประทับที่วัด มหาธาตุ ตั้งต้นศึกษาภาษาบาลี โดยพระวิเชียรปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษา บาลีเป็นอย่างยิ่งในสมัยนั้นเป็นพระอาจารย์สอน ทรงขะมักเขม้นศึกษาอยู่ ๓ ปี ก็ทรงรอบรู้แตกฉานใน ภาษาบาลีเป็นอย่างยิ่ง จนกิตติศัพท์เลื่องลือถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันหนึ่ง จึงมีพระ ราชดํารัสถามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าจะแปลพระปริยัติธรรมถวายให้ทรงฟังได้หรือไม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระพรรับว่าจะสนองพระเดชพระคุณตามพระราชประสงค์ การแปลพระปริยัติธรรม” ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งนี้ พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดขึ้นเป็นการพิเศษ ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชาธิบายไว้ว่า
   “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ดํารัสให้ประชุมสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ ผู้ใหญ่ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย เป็นการชุมนุมวิเศษ มิใช่ไล่ หนังสือในสนามพร้อมกับพระสงฆ์สามัญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจับประโยคธรรมบท แปลครั้งแรก ด้วยความคล่องแคล่วสละสลวย หาที่ทักท้วงมิได้ จึงปรากฏว่าหนังสือธรรมบทซึ่งกําหนดว่า ให้ไผ่ ครั้งนั้น เป็นอันหาต้องการไม่ ด้วยพระปรีชาสามารถความที่ทรงทราบ ปรากฏว่าเกินกว่าชั้น หนังสือธรรมบทเสียเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงดํารัสสั่งว่าอย่าให้แปลถึง ๓ เที่ยว เลย ให้ข้ามไปแปลมงคลทีปนี่ที่เดียวเถิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงจับประโยคแปล มงคลทีปนี้เป็นประโยคที่ ๒ ด้วยความคล่องแคล่ว อย่างเดียวกันกับเมื่อครั้งแปลธรรมบท ในเวลาเมื่อ ทรงแปลนั้นพระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการพร้อมกันฟังอยู่เป็นจํานวนมาก”
   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งพระราชหฤทัยแปลถวายเพียง ๕ ประโยค พอเป็นที่ เฉลิมพระราชศรัทธาแล้วขอพระราชทานงดไม่แปลต่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้า พระทัยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันดี จึงทรงอนุโลมตาม และพระราชทานพัดยศ สําหรับเปรียญเอก ๙ ประโยค ให้ทรงถือเป็นสมณศักดิ์ต่อมา พร้อมทั้งโปรดให้เสด็จเข้าเป็นแม่กองไล่ หนังสือองค์หนึ่งทีเดียว)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมมิใช่เพื่อพระเกียรติยศหรือผลประโยชน์อื่นใด แต่ทรงศึกษาด้วยทรงมุ่งหวังที่จะทราบพระธรรมวินัยให้แจ้งชัดในข้อปฏิบัติ อันเป็นมูล รากของพระศาสนาว่าเป็นอย่างไร ผลแห่งการศึกษาและทรงพิจารณาอย่างละเอียดทั่วถึง ทําให้ประจักษ์ แก่พระราชหฤทัยว่าวัตรปฏิบัติและอาจาริยสมัยที่ได้สั่งสอนสืบกันมาในครั้งกระนั้น ได้คลาดเคลื่อนและ หย่อนยานไปเป็นอันมาก จึงทรงรู้สึกสลดสังเวชพระราชหฤทัย ถึงกับทรงเห็นว่ารากเหง้าเค้ามูลแห่งการ บรรพชาอุปสมบทจะเสื่อมสูญเสียแล้ว

มีเนื้อหาอีก กดหน้าถัดไป