คณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดชุมพร
วัดโพธิการาม ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000
หน้าแรก
คณะผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ภาพกิจกรรม
เว็บบอร์ด
สมุดเยี่ยม
ติดต่อเรา
ผู้บริหาร
พระเทพมงคลกวี
เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดชุมพร
สารบัญเว็บไซต์
ประวัติวัดโพธิการาม
ประวัติกำเนิดคณะธรรมยุต
แผนงานธรรมยุต1
การเผยแพร่ธรรมยุตในจังหวัดชุมพร
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
เจ้าคณะปกครองระดับอำเภอเมือง
สถิติผู้เยี่ยมชม
เปิดเว็บไซต์
16/03/2023
ปรับปรุง
05/04/2024
สถิติผู้เข้าชม
22420
Page Views
55627
ประวัติกำเนิดคณะธรรมยุต
ทรงญัตติในรามัญนิกาย
ในระหว่างที่กําลังทรงพระปริวิตกถึงเรื่องความเสื่อมสูญแห่งวงศ์บรรพชาอุปสมบทอยู่นั้นเอง ก็ได้ วรามัญรูปหนึ่งชื่อ ชาย พุทธวํโส ซึ่งอุปสมบทมาแต่เมืองมอญ มาอยู่วัดบวรมงคลได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสุเมธมุนี เป็นผู้ชํานาญพระวินัยปิฎกประพฤติวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สามารถ ทูลอธิบายเรื่องวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์รามัญคณะกัลยาณีที่ท่านได้รับอุปสมบทมาให้ทรงทราบอย่างพิสดาร ทรงพิจารณาเห็นว่าสอดคล้องต้องกันกับพระพุทธพจน์ที่ได้ทรงศึกษามาจากพระบาลีไตรปิฎก เลื่อมใสและทรงรับเอาวินัยวงศ์นั้นเป็นแบบอย่างสําหรับปฏิบัติสืบมา ด้วยการทําทัฬหกรรมคือทรง อุปสมบทในคณะสงฆ์รามัญอีกครั้งหนึ่งโดยมี พระสุเมธมุนี (ชาย พุทธวํโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ จ.ศ. ๑๑๘๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๖๘ อันเป็นปีที่ทรงผนวชได้ ๒ พรรษา การทรงทําทัฬหกรรมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๑
การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทําทัพหกรรมอุปสมบทในคณะสงฆ์รามัญนั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทย โดยเริ่มต้นที่พระองค์เป็นประเดิม แล้วจึงมีภิกษุอื่นเกิดความนิยมเลื่อมใสและประพฤติปฏิบัติตามอย่างขึ้น ในช่วงที่ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ
นั้น มีภิกษุมาถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและประพฤติปฏิบัติตามแนวพระดําริเพียง ๕-๖ รูปเท่านั้น ในบรรดาผู้ที่มาถวายตัวเป็นศิษย์ในชั้นแรกนี้ก็คือ สมเด็จพระวันรัตน์” (ทับ พุทธสิริ) เมื่ออุปสมบทได้ ๒ พรรษา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่เมื่อแรกทรง อุปสมบท ในระยะนี้การเปลี่ยนแปลงแก้ไขในทางวัตรปฏิบัติคงทําได้ไม่มากนัก เพราะยังทรงอยู่ใน ระหว่างศึกษาพระปริยัติธรรมและเริ่มมีผู้มาศึกษาปฏิบัติอยู่ด้วยเพียงห้าหกรูป แต่คงค่อยเปลี่ยนแปลง แก้ไขมาโดยลําดับ ส่วนการแนะนําสั่งสอนในพระธรรมวินัยแก่ผู้ที่นิยมเลื่อมใสนั้น คงทรงกระทําใน ขอบเขตที่ทรงกระทําได้ ดังที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงบันทึกไว้ใน พระราชประวัติว่า
“พระองค์ทรงอนุเคราะห์สั่งสอนกุลบุตรผู้มีศรัทธาให้เล่าเรียนศึกษา ทั้งกลางวันกลางคืน มิได้ย่อ หย่อนพระทัย ทรงสั่งสอนในข้อวินัยวัตรและสุตตันตปฏิบัติต่าง ๆ ให้ถูกต้องสมธรรมวินัย เป็นข้ออ้าง แห่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นก็เป็นมหามหัศจรรย์ประจักษ์แก่ตาโลก ด้วยมีกุลบุตรซึ่งมี ศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาสู่สํานักพระองค์ท่าน ขอบรรพชาอุปสมบท ประพฤติตามลัทธิธรรมยุติกนิกาย มีปรากฏขึ้นเป็นครั้งประถมหลายองค์ โดยไม่ได้ข่มขู่ล่อลวงหลอกหลอนหามิได้”
ที่กล่าวว่า
“ขอบรรพชาอุปสมบทประพฤติตามลัทธิธรรมยุติกนิกาย”
ดังที่อ้างมาข้างต้นนั้น คงหมายถึงอุปสมบทวิธีแบบรามัญที่ทรงเห็นว่าถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติและทรงแนะนําผู้ที่มาถวายตัวเป็นศิษย์ในระยะที่ประทับ ณ วัดมหาธาตุนั้น ให้รับการอุปสมบทในคณะสงฆ์รามัญตามอย่างพระองค์
คงมิได้หมายถึงทรงให้บรรพชาอุปสมบทด้วยพระองค์เอง
ดังปรากฏในประวัติสมเด็จพระวันรัตน์ที่ท่าน เขียนเองว่า เมื่อท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่เสด็จประทับ ณ วัดมหาธาตุนั้น พระองค์ได้ทรงสั่งสอนชี้แจงโดยข้อปฏิบัติสิกขาบทวินัยต่าง ๆ ทรงแนะนําในพิธี อุปสมบทรามัญและอักขรวิธีโดยฐานกรณ์ที่ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ พร้อมทั้งทรงจัดหาพระรามัญจากวัด ชนะสงครามมาเป็นพระอุปัชฌาย์ นิมนต์พระสงฆ์รามัญมาเป็นคณปูรกะ อุปสมบทให้ใหม่ตามรามัญวิธี ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุนั้น
เพราะเหตุใดจึงทรงเลือกรับเอาวงศ์บรรพชาของพระสงฆ์รามัญมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ในพระมหาสมณศาสนภาษาบาลีที่พระราชทานไปยังลังกา ตอนหนึ่งว่า
“อนึ่ง ในเรื่องวงศ์นี้ พวกข้าพเจ้าขอบอกความมุ่งหมายของบัณฑิตฝ่ายธรรมยุตตามเป็นจริงโดย สังเขป คือหากสีหวงศ์เก่ายังตั้งอยู่ในสีหฬทวีป มาจนถึงปัจจุบันนี้ไซร้ พวกธรรมยุตบางเหล่าจักละวงศ์ เดิมของตนบ้าง บางเหล่าจักให้ทําทัพหกรรมบ้างแล้วนําวงศ์ (สีหฬ) นั้นไปเป็นแน่แท้ แต่เพราะไม่ได้วงศ์ เก่าเช่นนั้น ไม่เห็นวงศ์อื่นที่ดีกว่าจึงตั้งอยู่ในรามัญวงศ์ ซึ่งนําไปแต่สีหฬวงศ์เก่าเหมือนกัน ด้วยสําคัญเห็น วงศ์ (รามัญ) นั้นเท่านั้นเป็นวงศ์ดีกว่าเพื่อนโดยความที่ผู้นําวงศ์ไปนั้นเป็นผู้นําไปจากสีหฬทวีปในกาลก่อนบ้างโดยความที่วิธีเปล่งเสียงอักขระของภิกษุรามัญเหล่านั้นใกล้เคียงกับสีหฬในบัดนี้บ้าง”
ทรงรับสถาปนาเป็นพระราชาคณะ
เมื่อทรงแปลพระปริยัติธรรมได้เป็นเปรียญแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สถาปนาเป็นพระราชาคณะ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาเมื่อใด สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ตรัสเล่าไว้ว่า
วันหนึ่ง เสด็จเข้าไปถวายเทศน์ พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสว่า
“ซีต้นบวชมานานแล้ว ควรเป็นราชาคณะได้”
แล้วพระราชทาน พัดแฉกพื้นตาดให้ทรงถือเป็นยศต่อมา ในตํานานวัดบวรนิเวศวิหารกล่าว
ว่า
“ได้เป็นเปรียญขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะ เสด็จกลับขึ้นไปตั้งสํานักอยู่ที่ วัดสมอรายอีก
ตามที่กล่าวนี้แสดงว่า ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะเมื่อประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ ก่อนที่จะเสด็จไปประทับที่วัดสมอราย
มีเนื้อหาอีก กดหน้าถัดไป
« หน้าที่แล้ว
1
2
3
4
5
หน้าถัดไป »