คณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดชุมพร
วัดโพธิการาม  ตำบลนาทุ่ง  อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000
ประวัติวัดโพธิการาม
ประวัติวัดโพธิการาม
ประวัติวัดโพธิการาม จังหวัดชุมพร
 
          วัดโพธิการาม    ตั้งอยู่ที่บ้านดอนหลวง   ใกล้โรงพยาบาลชุมพร  เป็นวัดราษฎร์  เลขที่ทะเบียนบ้าน  ๑๑๒  หมู่ที่ ๗  ตำบลนาทุ่ง  อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร   อยู่ในเขตเทศบาลเมืองชุมพร  ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช  ๒๔๙๖  โดยนายหนู  โพธารส  เป็นผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด มีเนื้อที่จำนวน  ๑๒  ไร่ ภายหลังมีผู้บริจาคเพิ่มอีก ๖ ไร่ ๒ ตารางวา  รวมเป็น ๑๘ ไร่ ๒ ตารางวา  อยู่ห่างจากสำนักงานเทศบาลเมืองชุมพรประมาณ
๑ กิโลเมตร  ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๑๑
          ทางวัดได้รับการอุปถัมภ์ในการสร้างวัด จากนายหนู  โพธารส  เจ้าของที่ดิน  พร้อมบุตรธิดา คุณนายยี่สน สุนทรหงษ์  คหปตานี ในตลาดชุมพร  พ.อ. แสง  จุลจารัตต์   ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยในสมัยนั้น พร้อมด้วยนางอำนวย  จุลจาริตต์  ภรรยาและครอบครัว  ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฎีที่พักสงฆ์  ศาลาการเปรียญ  หอฉัน เป็นต้น คือ เว็บตรง
๑.  กุฏิเจ้าอาวาส   ๑  หลัง  กุฎีที่พักสงฆ์  จำนวน  ๔ หลัง
๒.  ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๐  เมตร ยาว ๒๐ เมตร
๓.  สร้างพระพุทธรูปประจำศาลาการเปรียญ  พระพุทธรูปประธานในอุโบสถ
๔.  เตาเผาศพ ๑ เตา  ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ  ๑  หลัง
๕.  หอฉัน  กว้าง ๖ เมตร  ยาว ๑๖  เมตร 
๖.  โรงเรียนปริยัติธรรม ๑  หลัง


      ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัด  ชื่อ   “วัดโพธิการาม”  เมื่อวันที่  ๒๕  กันยายน  พ.ศ. ๒๕๑๒  ผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด  ได้ดำเนินการสร้างโรงอุโบสถ  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘   กว้าง ๗ เมตร   ยาว ๒๑.๑๕  เมตร  ตามแบบ  “ค”   ของกรมศิลปากร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๑ ล้าน ๑   แสนบาทถ้วน   ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓  และประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๑๓  เวลา ๐๐.๑๖  น . โดยสมเด็จพระสังฆราช   สกลมหาสังปริณายก  (จวน  อุฏฐายี ป.ธ. ๙ ) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธาน เว็บสล็อต

ปัจจุบันมีสิ่งก่อสร้างในวัด  ดังนี้
      ๑ .อุโบสถ กว้าง ๗ เมตร  ยาว ๒๑.๑๕  เมตร  ตามแบบ  “ค” ของกรมศิลปากร
      ๒. ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง  ใช้เป็นหอฉันด้วย
      ๓. ศาลาบำเพ็ญกุศลอเนกประสงค์ ๑ หลัง  กว้าง  ๑๔ เมตร  ยาว  ๒๕  เมตร
      ๔. กุฎีเจ้าอาวาส  ๑  หลัง
      ๕. กุฎีรับรองสงฆ์   ๒  หลัง  กุฎีที่พักสงฆ์  ๑๕  หลัง 
      ๖. ตึกแถวที่พักสงฆ์  ๒  ชั้น  ๑๒  ห้อง  ๑  หลัง
      ๗. เมรุ พร้อมเตาเผาศพปลอดมลภาวะ  ๑  เตา ย้ายจากที่เดิมไปสร้างใหม่  เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้สอยในวัดให้กว้างขวางขึ้น
       ๘.ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ  ๓  หลัง 
          ๘.๑  กว้าง  ๑๕  เมตร  ยาว ๒๐  เมตร  ๑  หลัง
          ๘.๒  กว้าง  ๑๐  เมตร  ยาว ๑๕  เมตร  ๑  หลัง
          ๘.๓  กว้าง    ๙  เมตร  ยาว ๑๖  เมตร  ๑  หลัง
       ๙.  สนามกีฬา  ๑ สนาม,   ลานจอดรถ  ในบริเวณวัด ยาวตามสถานที่ของวัด
       ๑๐. มณฑปที่ตั้งรูปปั้นอดีตเจ้าอาวาส ๑ หลัง
       ๑๑. หอระฆัง  ๑  หลัง
       ๑๒. ศาลาที่พักผ่อนกลางวัด  ๓  หลัง
       ๑๓. ศาลานั่งพักเพื่อรอฌาปนกิจศพ ๑ หลัง  พร้อมสถานที่บริการเครื่องดื่ม
       ๑๔. ห้องน้ำ-ส้วมสาธารณะ
          ๑๔.๑  ห้องส้วม ๖ ห้อง  ห้องน้ำ  ๓ ห้อง)  ๑ หลัง
          ๑๔.๒  ห้องน้ำ  ๖ ห้อง   ห้องน้ำ  ๖ ห้อง)  ๑ หลัง
          ๑๔.๓  ห้องน้ำ/ส้วมคนพิการ ๑. ห้อง ห้องส้วม ๓ ห้อง ห้องน้ำ ๑ ห้อง
          ๑๔.๔  ห้องส้วม ๔ ห้อง  ห้องน้ำ  ๑ ห้อง ภายในอาคารบำเพ็ญกุศล
          ๑๔.๕ ห้องส้วม ๒ ห้อง ห้องส้วม/น้ำ คนพิการ ๑ ห้อง ห้องน้ำ ๑ ห้อง ภายในอาคารบำเพ็ญกุศล

พระประธานในอุโบสถ
          พระประธานในอุโบสถ ได้จำลองแบบอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย  ซึ่งเป็นพระประธานในวิหารวัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร โดย พ.อ. แสง  จุละจาริตต์  ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถแห่งประเทศไทย (ภายหลังเป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย) และคุณนายอำนวย จุละจาริตต์ ภรรยา  เป็นผู้สร้างถวาย  หน้าตักกว้าง  ๑  เมตรเศษ  ได้ประกอบพิธีเททองพระพุทธรูปองค์นี้ที่   วัดมหรรณพาราม โดยมีสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานในพิธี  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗  (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราข)
          พ.ศ. ๒๕๐๐  ได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานไว้ที่ศาลาการเปรียญเป็นการชั่วคราว ขณะที่กำลังอัญเชิญพระพุทธรูปจากบ้านพักของคุณนายยี่สน สุนทรหงษ์ ซึ่งเป็นมารดาของคุณนายอำนวย จุละจาริตต์ ได้มีปรากฏการณ์ธรรมชาติมหัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ขบวนแห่ออกเดินทางก็มีสภาพอุตุนิยมวิทยาเป็นปกติ ท้องฟ้าแจ่มใส มีท่านพระครูพิศิษฐ์อัตถาการ (พ่อท่านคล้าย วัดจันดี จ. นครศรีธรรมราช)  ร่วมพิธีในขบวนแห่ด้วย  เมื่อขบวนแห่มาใกล้ทางเข้าวัดโพธิการาม มีพายุฝนและลมแรงพัดมาจากทางทิศตะวันออก มีลมหมุนเกิดขึ้นในบริเวณ และมีอสุนีบาตตกลงมาในบริเวณใกล้เคียง  ฟ้าแลบ ฟ้าร้องอย่างรุนแรง ตลอดเวลาที่ขบวนแห่อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรเคลื่อนเข้าสู่ศาลาการเปรียญ  และเมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปเข้าสู่ศาลาการเปรียญเรียบร้อย พายุฝน ลมหมุน ลมแรง ฟ้าแลบ ก็อันตรธานหายไปหมดสิ้น เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จแล้ว จึงนำพระพุทธรูปองค์นี้ ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ  ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๓

พระประธานในศาลาการเปรียญ
     พระประธานในศาลาการเปรียญ  นายบุญพันธ์    แขวัฒนะ (ผู้จัดการธนาคารนครหลวงไทย ในสมัยนั้น)  เป็นผู้นำพระพุทธรูปศิลา ลงรักปิดทอง จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  หน้าตักกว้าง  ๑ เมตร ๔๐ เซนติเมตร  มาถวายเป็นพระประธานในศาลาเปรียญ

เจ้าอาวาส
      รูปที่  ๑  พระอโนมคุณมุนี  (สุบิน  ปิยธโร  ป.ธ. ๕)  พ.ศ. ๒๕๑๓–๒๕๓๒
      รูปที่  ๒ พระครูปิยสีลาจารย์  (พินิจ พุทฺธสโร  ป.ธ. ๔  รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๔ (ปัจจุบันเป็น พระอโนมคุณมุนี เจ้าอาวาสวัดสามแก้ว, อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร  ธรรมยุตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชุมพร
ธรรมยุต,)
     รูปที่ ๓. พระเทพมงคลกวี  (เสน่ห์  ฐานยุตฺโต ป.ธ. ๔, ศน.บ.,)  พ.ศ. ๒๕๓๔ ถึงปัจจุบัน  เป็นเจ้าคณะจังหวัดชุมพรธรรมยุต และที่ปรึกษาแม่กองธรรมสนามหลวง

รายงานการก่อสร้างและงบประมาณที่สร้าง
๑. อุโบสถ กว้าง ๗ เมตร  ยาว ๒๑.๑๕  เมตร  ตามแบบ  “ค” ของกรมศิลปากร
๒. ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง  ใช้เป็นหอฉันด้วย
๓. ศาลาบำเพ็ญกุศลอเนกประสงค์ ๑ หลัง  กว้าง  ๑๔ เมตร  ยาว  ๒๕  เมตร
๔. กุฎีเจ้าอาวาส  ๑  หลัง
๕. กุฎีรับรองสงฆ์   ๒  หลัง  กุฎีที่พักสงฆ์  ๑๕  หลัง 
๖. ตึกแถวที่พักสงฆ์  ๒  ชั้น  ๑๒  ห้อง  ๑  หลัง
๗. เมรุ พร้อมเตาเผาศพปลอดมลภาวะ  ๑  เตา ย้ายจากที่เดิมไปสร้างใหม่  เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้สอยในวัดให้กว้างขวางขึ้น
ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ  ๓  หลัง 
๘.๑  กว้าง  ๑๕ เมตร  ยาว ๒๐  เมตร  ๑  หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘   ราคาก่อสร้าง            
๘.๒  กว้าง  ๑๐ เมตร  ยาว ๑๕  เมตร  ๑  หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘   ราคาก่อสร้าง     
๘.๓  กว้าง   ๙  เมตร  ยาว ๑๖  เมตร  ๑  หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘   ราคาก่อสร้าง     
๙.  สนามกีฬา  ๑ สนาม,  ลานจอดรถ  ในบริเวณวัด ยาวตามสถานที่ของวัด
๑๐. มณฑปที่ตั้งรูปปั้นอดีตเจ้าอาวาส ๑ หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘  ราคาก่อสร้าง     
๑๑. หอระฆัง  ๑  หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘  ราคาก่อสร้าง     
๑๒. ศาลาที่พักผ่อนกลางวัด  ๓ หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘   ราคาก่อสร้าง     
๑๓. ศาลานั่งพักเพื่อรอฌาปนกิจศพ ๑ หลัง พร้อมสถานที่บริการเครื่องดื่ม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘   ราคาก่อสร้าง    ๑๔. ห้องน้ำ-ส้วมสาธารณะ  (รวมค่าก่อสร้างรวมกับศาลาที่สร้างพร้อมกัน)
          ๑๔.๑  ห้องส้วม ๖ ห้อง  ห้องน้ำ  ๓ ห้อง)  ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕.....  ราคาก่อสร้าง     
๑๔.๒  ห้องน้ำ  ๖ ห้อง   ห้องน้ำ  ๖ ห้อง)  ๑ หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕.....  ราคาก่อสร้าง     
๑๔.๓  ห้องน้ำ/ส้วมคนพิการ ๑. ห้อง ห้องส้วม ๓ ห้อง ห้องน้ำ ๑ ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕.....   ราคาก่อสร้าง     
          ๑๔.๔  ห้องส้วม ๔ ห้อง ห้องน้ำ ๑ ห้อง ภายในอาคารบำเพ็ญกุศล  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕........   ราคาก่อสร้าง     
           ๑๔.๕ ห้องส้วม ๒ ห้อง ห้องส้วม/น้ำ คนพิการ ๑ ห้อง ห้องน้ำ ๑ ห้อง ภายในอาคารบำเพ็ญกุศล  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘   ราคาก่อสร้าง