เสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๓๗๙ (ตรงกับปีวอก จ.ศ. ๑๑๙8) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จกรมพระราชวัง บวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้าง ว่างเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จมาอยู่ครอง ซึ่งขณะนั้น ทรงพระผนวชได้ ๑๒ พรรษา และโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะเจ้าคณะรอง เท่ากับพระยศของสมเด็จพระ มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อครั้งดํารงพระยศเป็น กรมหมื่นนุชิตชิโนรส มีฐานานุกรม ๗ รูป และลําดับยศอยู่ต่อจากพระพิมลธรรม แล้วจึงเชิญเสด็จจากวัดสมอรายมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันพุธขึ้น ๕ ค่ํา เดือนยี่ ปีวอก อัฐศก จ.ศ. ๑๑๙8 ตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓79 โดย ขบวนเรือตามประเพณีแห่พระราชาคณะไปครองวัด แต่โปรดให้จัดขบวนเหมือนอย่างแห่งตั้งพระมหา อุปราช ขบวนเรือ มีเรือตั้ง ๕ คู่ เป็นเรือบรรทุกกลองชนะ ๓ คู่ พิณพาทย์ 10 คู่ เรือกลองแขกนอกใน ๒ ลํา เรือเอกไชยตั้งบุษบกทรงพระพุทธรูป เอกไทยผูกกันยาเป็นเรือพระที่นั่งทรง เรือกันยาฐานานุกรม อันดับ ๒ ลํา เรือกราบข้าราชการตาม ๔๐ ลํา
การที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เสด็จมาอยู่ครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น เข้าใจว่าเป็นวิธีทรงดําเนินพระราโชบาย ดังจะประกาศให้รู้ ทรงเทียบพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพื่อป้องกัน ความเข้าใจผิดในการสืบราชสมบัติ วัดบวรนิเวศวิหารซึ่งก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จมาอยู่ครองมีชื่อว่า วัดใหม่ คงได้รับพระราชทานชื่อว่าวัดบวรนิเวศวิหารในครั้งนี้ อันเทียบได้กับ พระราชวังบวรหรือบวรสถาน วัดบวรนิเวศวิหารบางครั้งก็เรียกกันว่า วัดบน อันเทียบกันได้กับวังบน อันหมายถึงพระราชวังบวร
เมื่อเสด็จมาอยู่ครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น ทรงพาพระศิษย์หลวงที่สํานักวัดมหาธาตุมาอยู่ที่วัด บวรนิเวศวิหารหมด เลิกสํานักที่วัดมหาธาตุ ส่วนสํานักวัดสมอรายนั้น ยนั้นโปรดให้สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) ขณะดํารงสมณศักดิ์ที่ พระอริยมุนี เป็นหัวหน้าอยู่ที่สํานักวัดสมอราย) นับเป็นครั้งแรกที่พระ สงฆ์ธรรมยุตมีสํานักเป็นเอกเทศ ฉะนั้น วัดบวรนิเวศวิหารจึงเรียกได้ว่าเป็นวัดธรรมยุตวัดแรก และคง ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงถือเอาวันที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาอยู่ครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวันตั้งคณะธรรมยุต ดังความในลาย พระหัตถ์ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ร.ศ. ๑๑๕ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๙) ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งว่า
“พรุ่งนี้ (คือวันที่ ๑๑ มกราคม) เป็นวันที่คณะธรรมยุตและวัดบวรนิเวศ ตั้งมาได้ครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ จะมีการประชุมพระธรรมยุตให้พรแก่คณะและวัด และแจกรางวัลแก่นักเรียน ขอพระราชทานพระ ราชหัตถเลขาอํานวยพรแก่คณะและวัด”
เมื่อมีสํานักเป็นเอกเทศแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีความสะดวกพระ ราชหฤทัยในการที่จะแก้ไขการปฏิบัติของพระสงฆ์ให้บริบูรณ์ พร้อมทั้งได้ทรงตั้งขนบธรรมเนียม ทาง วินัยปฏิบัติและกิจวัตรต่าง ๆ ขึ้นได้อย่างเต็มพระราชประสงค์ ดังปรากฏในตํานานวัดบวรนิเวศวิหารว่า
“ครั้นเสด็จมาอยู่เป็นอธิบดีสงฆ์ในพระอารามนี้ ทรงได้ความสะดวกพระทัยขึ้น จึงได้ทรง ทํานุบํารุงความปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เจริญขึ้น กล่าวโดยย่อก็คือชักนําให้ตั้งอยู่ในสังวร ให้รู้จักนิยมใน การรักษามารยาทและขนบธรรมเนียม เอื้อเฟื้อในกิจวัตรไม่เป็นแต่ทําไปโดยความงมงาย รู้จักใช้ความ ตริตรองให้เห็นอํานาจประโยชน์แห่งการปฏิบัติอย่างนั้นโดยสม่ำเสมอ มีผู้เลื่อมใสและสรรเสริญว่าพระ สงฆ์วัดบนของพระองค์ปฏิบัติเคร่งครัดดี มีคนเข้ามาบวชมากขึ้นโดยลําดับ ในตอนปลายแห่งสมัยของ พระองค์ทรงครองวัด พระสงฆ์จําพรรษามีจํานวน ๑๓๐ ขึ้นไปถึง ๑๕๐ รูปก็มี”
ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ทรงตั้งขึ้นเมื่อเสด็จมาอยู่ครองวัดบวรนิเวศวิหาร สําหรับเป็นแบบ ปฏิบัติ ของพระสงฆ์ในสํานักวัดนี้ ตลอดไปถึงคณะศิษย์ที่อยู่ในสํานักวัดอื่น ก็คือ
(๑) ธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกกันว่า ทําวัตรเช้า ทําวัตรค่ำ เป็นกิจวัตรที่ภิกษุ สามเณรจะต้องทําประจําทุกวัน พร้อมทั้งทรงแต่งคํานมัสการขึ้นใหม่เป็นภาษามคธ เป็นคําร้อยแก้วบ้าง
เป็นคาถาบ้าง ดังที่ใช้สวดกันแพร่หลายอยู่ทุกวันนี้
(๒) ธรรมเนียมสวดมนต์ประจําวันต่อท้ายทําวัตรค่ำ ทรงเลือกพระสูตรต่าง ๆ ที่แสดงธรรมข้อ ปฏิบัติไว้สวดผลัดวันกันไป
(๓) ธรรมเนียมวันธรรมสวนะ คือฟังธรรมในวันพระ เมื่อถึงวันพระถึงปักษ์และเต็มปักษ์ กําหนด ให้มีธรรมสวนะคือการฟังธรรมเสมอไป ไม่เฉพาะแต่ในพรรษาเท่านั้น มีเทศนาเช้า ๓ โมงกัณฑ์หนึ่ง และ บ่าย ๓ โมงกัณฑ์หนึ่ง เมื่อยังทรงผนวชอยู่เสด็จลงประทานอุโบสถศีลและทรงเทศนาเป็นพื้น ทรงเทศนา โดยฝีพระโอษฐ์ แม้พระอื่นก็ทรงฝึกให้เทศนาโดยฝีปากเหมือนกัน
(๔) ธรรมเนียมวิสาขบูชา เมื่อถึงเพ็ญเดือน ๖ ที่กําหนดว่าเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานแห่ง สมเด็จพระบรมศาสดา ทําวิสาขบูชา วันขึ้น ๑๔ ค่ำเป็นวันเริ่มการตั้งน้ํา ตั้งเทียน วันขึ้น ๑๕ ค่ำและ วันแรม ๑ ค่ำมีเวียนเทียนและมีเทศนาเรื่องปฐมสมโพธิ
(๕) ธรรมเนียมอัฐมีบูชา เมื่อถึงวันแรม ๘ ค่ำเดือน 5 ที่กําหนดว่าเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ทําการบูชาเหมือนอย่างวิสาขบูชาและมีเทศนาด้วยเรื่องนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ ทรงพระราชนิพนธ์คาถาสําหรับสวดในพิธีทั้ง ๒ คราวนี้ไว้ด้วย
(๖) ธรรมเนียมมาฆบูชา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ที่กําหนดว่าเป็นวันที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรง แสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสาวกสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ล้วนเป็นอรหันต์เอหิภิกขุที่มาประชุมกันโดยมิได้ นัดหมาย ทําพิธีมาฆบูชา มีเทศนาด้วยเรื่องนั้น
(๗) ธรรมเนียมกฐิน การกรานกฐินในครั้งนั้น ทําด้วยผ้าที่ทําสําเร็จแล้วที่ทายกนํามาทอด ซึ่ง เป็นการไม่ถูกต้องตามพระบาลีที่ให้ทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด ถึงเย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้น วัดบวรนิเวศวิหาร รับพระกฐินหลวงที่ทรงทอดตามธรรมเนียมที่ทํากันมาแต่โบราณนั้น ไม่ทรงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถนัด จึงทรงแก้ไขเฉพาะฝ่ายวัด (คือเป็นการภายใน) โดยทรงรับพระกฐินตามธรรมเนียมเมืองแล้ว เอาผ้าไตร พระกฐินนั้นมาเลาะออกเป็นท่อนผ้าแล้ว กะตัดเป็นอันตรวาสกหรืออุตราสงค์เย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น แล้ว จึงทําพิธีกรานอีกครั้งหนึ่ง และเป็นธรรมเนียมว่าพระเถระต่างวัดจะมาช่วยกรานกฐิน อยู่ช่วยจนตลอด เวลากรานและสวดมนต์ แต่เมื่อมีวัดธรรมยุตมากขึ้น รับกฐินพร้อมกันหลายวัด ต้องแบ่งไปช่วยกัน การ ช่วยจึงสักแต่พอเป็นพิธี แล้วค่อยจืดจางไปในที่สุด
(๘) ธรรมเนียมตั้งเจ้าหน้าที่ทําการสงฆ์ ทรงจัดเจ้าหน้าที่ทํากิจสงฆ์ เป็นต้นว่า ภัตตุทเทสกะ เจ้าหน้าที่ผู้แจกอาหาร เสนาสนคาหาปกะ เจ้าหน้าที่ผู้แจกเสนาสนะให้อยู่ จีวรปฏิคาหกะและจีวรภาชกะ
เจ้าหน้าที่ผู้รับและผู้แจกจีวร ภัณฑาคาริกะ เจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง โดยได้รับสมมติจากสงฆ์ตามวินัย
(๙)ธรรมเนียมถวายกาลททาน ทรงชักนำการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ อย่างอื่นอีกตามเทศกาล คือ ถวายสลากภัตในหน้าผลไม้ชุม ถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ําฝน) เมื่อจวนเข้าพรรษา ตักบาตรน้ําผึ้ง ในฤดู ถวายผ้าจำนำพรรษาเมื่ออกพรรษาแล้ว
(๑๐) ธรรมเนียมเกี่ยวกับของสงฆ์ ทรงจัดพัสดุของสงฆ์อันเป็นครุภัณฑ์ รักษาไว้เป็นของสําหรับ วัด ทรงจัดครุภัณฑ์เป็นของกลางสําหรับคณะขึ้นอีกอย่างหนึ่งต่างจากครุภัณฑ์ของสงฆ์ที่จ่ายขาดตัวได้ด้วยไม่ต้องผาติกรรมและจ่ายไม่จํากัดเฉพาะวัด
(๑๑) ธรรมเนียมเกี่ยวกับการอุปสมบท เมื่อเสด็จมาอยู่ครองวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว การรับกุล บุตรเข้ามาอุปสมบททรงเป็นพระอุปัชฌาย์เอง โปรดให้พระศิษย์หลวงเดิมผู้เรียนรู้ปริยัติธรรม (คือรู้ภาษา บาลี) สวดกรรมวาจา สุดแล้วแต่จะตรัสสั่งให้รูปใดรูปหนึ่งสวด ทรงถืออํานาจในสังฆกรรม เจ้าภาพไม่ อาจนิมนต์เลือกเอาตามชอบใจ ทรงแก้ไขคําขอบรรพชาและในกรรมวาจาอุปสมบท ให้ระบุชื่ออุปสัมปทาเปกขะและชื่ออุปัชฌาย์ให้ตรงตามบาลีและเพิ่มคํานําและส่งท้ายแห่งอนุศาสน์
(๑๒) ธรรมเนียมแห่งการห่มผ้า การห่มจีวรของพระสงฆ์ธรรมยุตในชั้นแรก เมื่อยังมีสํานักอยู่ที่ วัดมหาธาตุและที่วัดสมอรายนั้น ยังห่มตามแบบพระมหานิกายอันเป็นแบบที่พระสงฆ์ไทยห่มมาแต่ โบราณเรียกว่า ห่มคลุมหรือห่มหนีบ แม้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาอยู่ครองวัด บวรนิเวศวิหารแล้ว ในระยะแรกก็ยังทรงห่มจีวรแบบพระสงฆ์ไทยทั่วไป กระทั่งถึงตอนปลายแห่งสมัยที่ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร “พระธรรมยุติกาในครั้งนั้น ลงสันนิษฐานว่า ห่มผ้าคลุมอย่างพระมหานิกาย นั้น จะรักษาเสขิยวัตรข้อว่าอย่าเลิกผ้าเมื่อเข้าบ้านให้บริบูรณ์ไม่ได้ จึงได้ห่มคลุมตามแบบที่พระรามัญ ใช้ (๒๒) ซึ่งเรียกกันว่า “ห่มแหวก” หรือ “ครองมอญ” แต่นั้นมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสนองพระบรมราโชบายในรัชกาลที่ ๓ และภิกษุสามเณรในคณะของพระองค์จึงเปลี่ยนมาห่มแหวก แต่ได้เลิกไประยะหนึ่งตอนปลายรัชกาลที่ ๓ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระเถรานุเถระแห่งคณะธรรมยุต ได้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกลับห่มแหวกอีกครั้งหนึ่ง และได้ถือเป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ธรรมยุตทั่วไปทุกสํานักสืบมาจนทุกวันนี้
(๑๓) ธรรมเนียมสวดมนต์ ในชั้นแรกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าการออก เสียงภาษามคธสําเนียงรามัญ หรือของพระสงฆ์รามัญนั้นถูกต้องตามฐานกรณ์มากที่สุด จึงทรงรับเอามา ใช้ในอุปสมบทกรรม ต่อมาเมื่อทรงรู้จักใกล้ชิดกับพระสงฆ์ลังกามากขึ้น จึงทรงเห็นว่าวิธีว่าภาษามคธ ของพระลังกาเป็นดีกว่าของพวกอื่นจึงนําวิธีของลังกามาใช้ในการสวดกรรมวาจาและสวดมนต์ของพระ สงฆ์ธรรมยุตสืบมา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังทรงเห็นว่า การเปล่งเสียงอักขระพุทธชะและทันตระของพระสงฆ์ลังกาไม่สู้ชัดนัก ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า การออกเสียงภาษามคธอย่างที่พระสงฆ์ธรรมยุตใช้อยู่ในบัดนี้ จึงไม่ใช่ทั้งแบบรามัญและแบบลังกา แต่เป็นแบบที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าและเห็นว่าน่าจะใกล้เคียงของ เดิมมากที่สุดของบูรพาจารย์คณะธรรมยุตเอง ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระบรมราชาธิบายไว้ว่า
“พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อได้ทรงทราบกว้างขวางออกไป ก็ได้ให้ใช้สําเนียง อย่างธรรมยุติกนิกายใช้อยู่บัดนี้ ซึ่งใกล้ต่อภาษาเดิมยิ่งกว่า สําเนียงอื่น”
ฉะนั้นจึงได้เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ธรรมยุตสืบมาว่า การสวดในสังฆกรรมและสวดมนต์ที่ เป็นพระสงฆ์ธรรมยุตล้วน สวดแบบมคธ การสวดมนต์ทั่วไปที่มีพระมหานิกายร่วมด้วย แม้น้อยรูป ย่อม สวดแบบสังโยค อนุวัตรตามแบบมหานิกาย)
มีเนื้อหาอีก กดหน้าถัดไป
|